|
เสื้อเกราะกันกระสุนในอนาคตอาจจะผลิตจาก
Nanotube
ผลการจำลองบนคอมพิวเตอร์โดยทีมงานวิศวกรในออสเตรเลียแสดงให้เห็นว่ากระสุนจะกระเด็นออกจากเสื้อเกราะที่ทำจาก
Nanotube เนื่องจากความยืดหยุ่นที่สูงของวัสดุนี้
ทีมวิจัยอ้างว่าวัสดุชนิดนี้จะเพิ่มขีดความสามารถของเสื้อเกราะในการหยุดกระสุนโดยการกระจายแรงของกระสุน
Carbon
nanotube มีความแข็งแรง, นํ้าหนักเบา
และมีความยืดหยุ่นสูงซึ่งสามารถดูดกลืนฟลังงานจลน์ได้เป็นจำนวนมาก
จากการจำลองพฤติกรรมของวัสดุนาโนเหล่านี้ในขณะถูกกระแทก Kaysala Mylvaganam และ
Liangchi Zhang จากมหาวิทยาลัย Sydney ได้แสดงให้เห็นว่า Nanotube
สามารถทนต่อกระสุนความเร็วสูงได้
และมีแนวโน้มที่จะทนต่อความเสียหายที่เกิดจากการกระแทกหลายๆครั้งได้
ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการตัดสินว่ามันจะสามารถนำไปผลิตเป็นเสื้อเกราะได้หรือไม่
ผลการจำลองนี้ได้จากการจำลองพฤติกรรมของ
Carbon nanotube
เดี่ยวที่ถูกตรึงปลายทั้งสองด้านซึ่งถูกชนโดยกระสุนขนาดเล็กที่ทำจากเพชร
กระสุนนั้นจะมีความเร็วระหว่าง 1000 ถึง 3500 เมตรต่อวินาที
และถูกยิงตั้งฉากกับแกนของ Nanotube ทีมวิจัยได้ค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่างรัศมีของ
Nanotube, ตำแหน่งและความเร็วที่กระสุนกระทบ, พลังงานที่ถูกดูดกลืนโดน
Nanotube
Mylvaganam และ Zhang พบว่า Nanotube
สามารถทนต่อกระสุนที่มีความเร็ว 2000 เมตรต่อวินาทีได้แม้จะมีการกระทบหลายครั้ง
(ความเร็วของกระสุนปืนไรเฟิลสามารถสูงถึง 1500
เมตรต่อวินาทีและกระสุนปืนส่วนใหญ่มีความเร็วน้อยกว่า 1000 เมตรต่อวินาที)
จุดกึ่งกลางของ Nanotube
เป็นจุดที่มีความต้่านทานสูงสุด
ทั้งคู่กล่าวว่าเสื้อเกราะกันกระสุนสามารถสร้างได้จาก
"์เส้นใย Nanotube" โดย Carbon nanotube
สามารถหมุนตัวเป็นเส้นใยได้โดยอาศัยวิธีการที่เรียกว่า Electrospinning
ทีมวิจัยได้คำนวนว่าเสื้อเกราะนั้นจะมีความหนา 600 ไมครอน
โดยประกอบชั้นเส้นใยทีมีความหนา 100 ไมครอนจำนวน 6 ชั้น
จะสามารถสะท้อนกระสุนที่มีพลังงาน 320 จูลได้
(ค่าพลังงานของกระสุนจากปืนขนาดเล็กส่วนใหญ่)
เสื้อเกราะชนิดนี้จะดีกว่าเสื้อเกราะในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ทำจากเส้นใย
Kevlar, Twaron และ Dyneema หลายๆชั้น
ถึงแม้เสื้อเกราะในปัจจุบันจะสามารถหยุดกระสุนจากการทะลุทะลวงได้
แต่การหยุดกระสุนของเสื้อเกราะในปัจจุบันอาศัยการกระจายแรงเป็นบริเวณกว้างซึ่งยังสามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่เรียกว่า
Blunt force trauma
โดยมีระดับความรุนแรงตั้งแต่แผลฟกชํ้าไปจนถึงอาการบาดเจ็บของอวัยวะภายในอย่างรุนแรง
การที่ Carbon nanotube
สามารถดูดกลืนพลังงานได้เป็นจำนวนมากนั้นสามารถลดอาการบาดเจ็บนี้ได้อย่างมาก
ถึงแม้งานวิจัยนี้จะเป็นเพียงแค่ทฤษฎี
แต่งานวิจัยก่อนหน้านี้ทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า Nanotube สามารถปั่นเป็นเส้นใยได้
ดังนั้นก้าวถัดไปน่าจะเป็นการสร้างเสื้อเกราะต้นแบบให้สำเร็จ http://physicsworld.com/cws/article/news/31683

|
|
|